หนึ่งในคำถามที่ถูกพบบ่อยอันดับต้นๆ สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ นั่นก็คือ ไม่รู้ว่าตนเองจะต้องจดทะเบียนบริษัทเป็นรูปแบบไหนจึงจะเหมาะสม และตรงตามทิศทางของบริษัทที่วางไว้ ซึ่งภาพรวมของประเภทธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล” เรามาทำความเข้าใจ และความแตกต่างของประเภทธุรกิจ 2 ประเภทนี้กัน
ประเภทที่ 1 : แบบบุคคลธรรมดาสำหรับธุรกิจประเภทนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เจ้าของคนเดียว และห้างหุ้นส่วนสามัญ
– เจ้าของคนเดียว
การเป็นเจ้าของธุรกิจเพียงผู้เดียว โดยไม่มีการร่วมลงทุนกับผู้อื่น และส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีข้อดีตรงที่มีอำนาจการตัดสินใจในทุกๆ ด้าน ไม่ซับซ้อน และมีความคล่องตัวสูง แต่จะต้องเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดาจากรายได้สุทธิ ตามอัตราความก้าวหน้า 5-35% อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการแบกรับค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากธุรกิจตกอยู่ในสภาวะขาดทุน
– ห้างหุ้นส่วนสามัญการตกลงร่วมลงทุน และดำเนินธุรกิจตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ และรับผิดชอบหนี้สินร่วมกัน ซึ่งห้างหุ้น
ส่วนสามัญประเภทนี้ เป็นรูปแบบที่ไม่ได้จดทะเบียนจึงถูกจัดอยู่ในประเภทบุคคลธรรมดา และต้องเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดาจากรายได้สุทธิเช่นกัน
ประเภทที่ 2 : แบบนิติบุคคล
สำหรับนิติบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
– ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้น มีองค์ประกอบเหมือน กับห้างหุ้นส่วนสามัญ เพียงแค่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีอัตราการเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
– ห้างหุ้นส่วนจำกัด
มีความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วน 2 ประเภทข้างต้นที่กล่าว คือ ข้อจำกัดของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถูกเรียกว่า หุ้นส่วนจำกัด หมายถึง หุ้นส่วนที่ถูกจำกัดทาง
ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนหนี้ หรือไม่มีอำนาจในการจัดการหนี้สินนั่นเอง แต่มีอัตราการเสียภาษีเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
– บริษัทจำกัดกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีการจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปซึ่งมีการแบ่งหุ้นของแต่ละคนออกเป็นเท่าๆ กัน มีหน้าที่ความรับผิดเฉพาะ
ในส่วนของหุ้นที่ตนเองซื้อไว้เท่านั้น และมีอัตราการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
– บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทประเภทนี้ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยจุดประสงค์เพื่อเสนอขายหุ้น ต่อประชาชน โดยผู้หุ้นจะมีหน้าที่ความรับผิดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ต้องชำระเท่านั้น